แรงงานต่างด้าวครบวาระ 4 ปี หรือ 6 ปี นายจ้างควรทำอย่างไร ขั้นตอนยื่นต่ออายุ มีอะไรบ้าง?
15 กรกฎาคม 2024อาชีพต้องห้ามต่างด้าว มีอะไรบ้าง นายจ้าง-แรงงานควรรู้ก่อนทำผิดกฎหมาย
23 สิงหาคม 2024ปัจจุบันการทำ MOU แรงงานต่างด้าว เพื่อนำเข้าแรงงานอย่างถูกต้องตามกฤหมายนั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เนื่องจากประเทศไทยมีธุรกิจเติบโตขึ้นมากมาย ส่งผลให้ความต้องการแรงงานภายในประเทศพุ่งสูงขึ้น ประกอบกับสังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้แรงงานใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นในตลาดของประเทศลดลง เพราะฉะนั้นแล้ว การจ้างแรงงานต่างด้าวเป็นอีกทางเลือกที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้ในสภาวะสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะงานเกี่ยวกับการก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม และภาคการบริการ เป็นต้น
ทั้งนี้ บริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าวหรือนายจ้างอาจกังวลเกี่ยวกับปัญหาหลายอย่าง เช่น ความยุ่งยาก ในการจัดหาแรงงานพม่า แรงงานกัมพูชา หรือแรงงานลาว ความซับซ้อนในการหาแรงงาน การจัดทำเอกสาร การขอวีซ่าแรงงานต่างด้าว ที่ใช้เวลาค่อนข้างนาน รวมไปถึงคุณภาพของแรงงานต่างด้าว ถึงอย่างนั้น ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการจ้างแรงงานต่างด้าว หรือรูปแบบที่รู้จักกัน คือ การนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU นั่นเอง
MOU คืออะไร ?
MOU (Memorandum of Understanding) คือ เอกสารบันทึกข้อตกลงและความเข้าใจร่วมกัน ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกัน รวมถึงบทบาทและความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายด้วย ที่มีการตกลงระหว่างรัฐต่อรัฐ ในการมีข้อตกลงเรื่องการส่งออกและนำเข้าแรงงาน ที่เรียกว่า “แรงงาน MOU” ซึ่งในประเทศไทยที่มีการทำข้อตกลงกัน จะมีแรงงานต่างด้าว MOU 4 สัญชาติ จากประเทศใกล้เคียงนั่นเอง
แรงงานต่างด้าว คืออะไร ?
แรงงานต่างด้าว คือ บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย ที่ได้เข้ามาในประเทศไทย เพื่อรับจ้างหรือประกอบอาชีพ และได้รับค่าจ้างหรือผลตอบแทน ซึ่งแรงงานต่างด้าวจะรวมทั้งแรงงานที่เข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และแรงงานที่ลักลอบหรือเข้ามาอย่างผิดกฎหมายด้วย โดยหากบริษัทหรือนายจ้าง มีการจ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ก็จะได้รับโทษตามความผิดที่ได้กระทำไปด้วย
แรงงานต่างด้าว MOU คืออะไร ?
แรงงานต่างด้าว MOU คือ แรงงานที่สามารถเข้ามาในประเทศไทยและทำงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากมีการทำ MOU แรงงานต่างด้าว ร่วมกับรัฐบาลไทย ซึ่งปัจจุบันมีการลงนาม MOU ร่วมกับระหว่าง 4 ประเทศ ได้แก่ ลาว กัมพูชา เมียนมา และเวียดนาม โดยตัวแทนของทุกฝ่ายจะลงนามในบันทึกข้อตกลงสัญญาหรือหนังสือสัญญา เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าแรงงานต่างด้าว MOU ถูกกฎหมายอย่างแน่นอน
โดยอาชีพที่แรงงานต่างด้าว MOU ประเทศลาว กัมพูชา และเมียนมาสามารถทำได้มีอยู่ 2 ลักษณะงาน ได้แก่ งานกรรมกร และงานรับใช้ในบ้าน ส่วนแรงงานต่างด้าวสัญชาติเวียดนาม สามารถทำได้เฉพาะลักษณะงานกรรมกร และต้องทำงานในกิจการก่อสร้างและกิจการประมงเท่านั้น
แรงงาน MOU มีกี่ประเภท
สำหรับแรงงานต่างด้าว MOU ในประเทศไทย จะมีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม ดังนี้
1.แรงงานต่างด้าว กลุ่มมติ ครม. หรือ พิสูจน์สัญชาติเดิม
กลุ่มแรกจะเป็นแรงงานต่างด้าวที่ผ่านกระบวนการขึ้นทะเบียน ด้วยมติ ครม. ต่างๆ ซึ่งจะมีการทำเอกสาร อาทิเช่น หนังสือรับรองบุคคล หรือ CI / หนังสือเดินทาง / ใบอนุญาตทำงาน / บัตรชมพู / พิสูจน์อัตลักษณ์ ถึงจะกลายเป็นแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายกำหนด
2.แรงงานต่างด้าวที่ผ่านกระบวนการนำเข้า MOU
เป็นแรงงานต่างด้าว ที่ต้องผ่านกระบวนการอนุมัติให้เรียบร้อยก่อนการนำเข้ามาทำงาน จึงเรียกว่า ต่างด้าว MOU ที่มีสถานะถูกต้องทันทีที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย
เอกสารประจำตัวจะน้อยกว่า คือ มีเพียง หนังสือเดินทาง วีซ่า ใบอนุญาตทำงาน (อีเวิร์ค) 3 รายการเพียงเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มแรงงานต่างด้าว กลุ่ม มติ ครม. ที่มีหลายขั้นตอนกว่า
ทำ MOU แรงงานต่างด้าว ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
ถึงแม้จะมีการลงนามทำ MOU แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานอย่างถูกกฎหมาย แต่แรงงานต่างด้าวที่สามารถเข้าสู่ระบบ MOU ได้ ก็ต้องมีคุณสมบัติที่ครบถ้วนเช่นกัน รวมถึงต้องศึกษาข้อมูลอาชีพต้องห้ามต่างด้าวอีกด้วย เนื่องจากแรงงานต่างด้าวจะสามารถทำงานได้เพียงงานที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้ เพื่อไม่เป็นการแย่งอาชีพคนไทย ซึ่งในการขอใบอนุญาตทำงาน แรงงานต่างด้าวต้องมี 5 คุณสมบัติ ดังนี้
1.มีถิ่นที่อยู่อาศัยในราชอาณาจักร
แรงงานต่างด้าว MOU ต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว นั่นก็คือ สถานที่ทำงาน และ ที่พักที่จัดหาไว้ให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
2.มีความรู้และความสามารถ
แรงงานต่างด้าวต้องมีความรู้ความสามารถในการทำงาน ตามที่นายจ้างต้องการ ก่อนที่ขอรับใบอนุญาตทำงาน
3.ข้อกำหนดด้านสุขภาพจิต
แรงงานต่างด้าว MOU ต้องไม่เป็นคนวิกลจริตหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ผ่านการตรวจโรค 6 โรคมาตรฐาน
4.ข้อกำหนดด้านโรคติดต่อ
ต่อมาคือ แรงงาน MOU ต้องไม่เจ็บป่วยเป็นโรค 6 โรค ข้อห้ามที่กำหนด ได้แก่ โรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการ โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคติดยาเสพติดให้โทษ และโรคซิฟิลิสในระยะที่ 3
5.ประวัติอาชญากรรม
คุณสมบัติของแรงงานต่างด้าว MOU ข้อสุดท้าย คือ ต้องไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายคนเข้าเมืองหรือตามกฎหมายการทำงานของคนต่างด้าว ภายในระยะเวลา 1 ปีก่อนวันได้รับใบอนุญาต
แรงงานต่างด้าว MOU มีข้อดี-ข้อเสีย อะไรบ้าง
การเลือกนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU ที่มีใบอนุญาตทำงาน นั้นมีข้อดีและข้อเสียที่นายจ้างควรพิจารณา ดังนี้
ข้อดีของแรงงาน MOU
- สามารถตรวจสอบเอกสารและประวัติของลูกจ้างต่างด้าวได้สะดวก
- เป็นแรงงานที่มีคุณภาพ
- ไม่ต้องเสี่ยงรับโทษใดๆ จากการจ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 3 ปี ปรับตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อเสียของแรงงาน MOU
- แรงงานจะไม่สามารถเปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนนายจ้างได้เอง แต่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของพระาชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งนายจ้างควรศึกษาข้อมูลต่างๆ ให้ดี
แรงงานต่างด้าวถือเป็นกลุ่มที่สำคัญต่อโครงสร้างและการเติบโตของเศรษฐกิจไทย และการว่าจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย เช่น แรงงาน MOU ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตัวนายจ้างและลูกจ้าง และเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ประเทศไทย สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่บริษัททั้งของประเทศและต่างชาติที่มีฐานผลิตอยู่ในประเทศไทยว่ามีการว่าจ้างอย่างถูกกฎหมาย และแรงงานมีคุณภาพ
การนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU มีขั้นตอนอย่างไร
โดยการนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU นั้น ผู้ที่สามารถนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยกระทำได้ 2 วิธี ได้แก่
1.บริษัทนำเข้าต่างด้าว ที่ได้รับอนุญาต จากกรมการจัดหางาน
มีการวางประกัน 5 ล้านบาท การนำเข้ารูปแบบนี้ บริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าว สามารถดำเนินการแทนได้ทุกขั้นตอน แทนนายจ้าง ที่ประสงค์จะทำนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU แต่ต้องมีนายจ้างเป็นผู้ทำสัญญานำคนต่างด้าวเข้ามาทำงาน
2.นายจ้างเป็นผู้นำเข้าแรงงาน MOU ด้วยตนเอง
ซึ่งต้องมีการวางหลักประกันการนำเข้าแรงงาน MOU นี้ เพื่อในกรณีที่เกิดความเสียหายจากการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างเอง ซึ่งสามารถใช้เงินสด พันธบัตรรัฐบาล หรือสัญญาค้ำประกันของธนาคารก็ได้ สูงสุด 1แสนบาท ต่อนายจ้างหนึ่งราย
แรงงาน MOU มีกี่สัญชาติ ?
ปัจจุบันแรงงานต่างด้าว MOU จะมีอยู่ 4 สัญชาติ คือ พม่า/เมียนม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ที่สามารถนำเข้ามาทำงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ที่ได้รับความนิยมของนายจ้างในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานพม่า ลาว และกัมพูชา
ค่าใช้จ่ายทำ MOU แรงงานต่างด้าว
สำหรับค่าใช้จ่ายทำ MOU แรงงานต่างด้าว นั้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าจะนำเข้าแรงงานสัญชาติไหน รวมถึงยังขึ้นอยู่กับวิธีการยื่นด้วย โดยหากนายจ้างยื่นด้วยตัวเอง ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการใช้บริการกับบริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าว แต่ก็แลกมากับขั้นตอนการดำเนินงานที่ซับซ้อน และเอกสารต่างๆ ที่ต้องจัดเตรียมให้เรียบร้อย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการทำ MOU แรงงานต่างด้าว ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 10,000 – 20,000 บาท
แรงงานต่างด้าว MOU เปลี่ยนนายจ้างได้ไหม ?
โดยตามกฎหมายแล้วแรงงานต่างด้าว MOU สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ ซึ่งต้องมีเอกสารในการแจ้งออกจากฝั่งนายจ้างเดิม และนายจ้างใหม่ต้องดำเนินการแจ้งนำแรงงานเข้าทำงานภายใน 15 วัน โดยแรงงานสามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ ตามกรณีต่างๆ ดังนี้
- แรงงานถูกเลิกจ้าง
- นายจ้างเสียชีวิต
- แรงงานถูกนายจ้างทำร้ายหรือทารุณกรรม
- ได้รับค่าตอบแทนไม่ตรงตามสัญญาจ้าง
- นายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
- สถานที่ทำงานไม่ถูกสุขอนามัย เสี่ยงเกิดอันตรายกับแรงงาน
- นายจ้างใหม่เจรจาตกลงชดใช้ให้กับนายจ้างเก่า เพื่อขอเปลี่ยนนายจ้าง
อยากนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU นึกถึง ดิ อิมพอร์ตเตอร์ 168
ดิอิมพอร์ตเตอร์ 168 บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ได้จดทะเบียนอนุญาตในการนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU (เมียนมา กัมพูชา และลาว) กับกรมจัดหางานและกระทรวงแรงงานตามพระราชกำหนดการทำงานคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 สามารถจัดหาแรงงานต่างด้าวและดำเนินการเอกสารทุกรูปแบบเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ บริษัทได้วางหลักประกัน กับกรมการจัดหางานเป็นจำนวนเงิน 5 ล้านบาท เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นายจ้างที่มาใช้บริการ
บริการของ ดิอิมพอร์ตเตอร์ 168 คือ การนำเข้าแรงงานต่างด้าว โดยบริษัทจะเป็นผู้ดำเนินการเอกสารให้ทุกขั้นตอน ดูแลการจ้างแรงงานต่างด้าวให้ตลอดสัญญา รวมไปถึงการจัดการเอกสารของแรงงานต่างด้าว เช่น การไปรายงานตัวทุก 90 วัน ต่อใบอนุญาตทำงาน ต่อวีซ่าและเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าว ด้วยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์กว่า 15 ปี
หากสนใจการนำเข้าแรงงาน MOU ติดต่อ ดิ อิมพอร์ตเตอร์ 168 จำกัด ได้ที่ด้านล่าง
โทร.: 02-101-2814, 081-1717894
อีเมล: importer168@gmail.com
LINA OA: The Importer 168
Facebook: The Importer 168 นำเข้าต่างด้าว