บริการนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU 3 สัญชาติ
ดิ อิมพอร์ตเตอร์ 168 (TIP 168)
ยินดีต้อนรับทุกท่านที่สนใจบริการของเราเกี่ยวกับการนำเข้าแรงงานต่างด้าว จากประเทศ เมียนมา กัมพูชา และ ลาว เรามุ่งมั่นในการให้บริการ การตรวจเอกสาร และแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน นำเข้าแรงงาน MOU จากประเทศเมียนมา กัมพูชา และลาว
ทำไมต้องนำเข้าแรงงานกับ ดิ อิมพอร์ตเตอร์ 168
นำเข้าแรงงาน ระบบ MOU
เราเป็นบริษัทนำแรงงานต่างด้าว MOU ถูกกฎหมายเข้าทำงานในประเทศ จัดทำเอกสารถูกต้อง พร้อมดูแลแรงงานให้ตลอดอายุสัญญาการจ้างงาน
ควบคุม ตรวจสอบเอกสาร
ดิ อิมพอร์ตเตอร์ 168 มีบริการควบคุมและตรวจสอบเอกสารของแรงงานให้ถูกต้อง ครบถ้วน พร้อมมีทีมงานดูแล และจัดการแรงงานตลอดอายุการสัญญาจ้างงาน
บริการเป็นที่ปรึกษาการจ้างต่างด้าว
ดิ อิมพอตเตอร์ 168 เชี่ยวชาญการให้บริการเป็นที่ปรึกษาแก่นายจ้าง ตลอดการจ้างงานแรงงานต่างด้าว MOU เรามุ่งมั่นที่จะช่วยนายจ้างรู้สึกสบายใจ และอบอุ่นใจ
การคัดเลือกแรงงานต่างด้าวอย่างมีคุณภาพ
เราเข้าใจดีว่า การจ้างแรงงานที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะตรงตามความต้องการเป็นสิ่งที่สำคัญ เราจึงมีกระบวนการคัดเลือกแรงงานที่เข้มงวด และละเอียด โดยให้ความสำคัญกับคุณภาพ และประสิทธิภาพในการทำงาน
ข้อดีของการนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU
- แรงงานเข้ามาอย่างถูกกฎหมาย มีเอกสารครบถ้วนตั้งแต่แรกก่อนการทำงาน
- สามารถนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU ได้จำนวนมาก
- สามารถกำหนดลักษณะ คุณสมบัติ หรือความสามารถของแรงงานต่างด้าวที่ต้องการได้
- เสียค่าใช้จ่ายน้อยตามข้อกำหนดในใบเสนอราคาและการตกลงก่อนนำเข้า
- มีความชัดเจนในการว่าจ้างสัญญาและข้อปฏิบัติที่เป็นไปตามกฎหมาย
- ลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงาน แรงงานไม่สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้อย่างเสรี
เอกสารแรงงานต่างด้าว
แผนการดำเนินงาน
ขั้นตอนที่ 1จัดทำเอกสารนำเข้าแรงงาน
ให้นายจ้างจัดทำเอกสารนำเข้าแรงงาน ให้นายจ้างขั้นตอนที่ 2ยื่นคำร้อง (Demands)
ยื่นคำร้อง (Demands) กรมการจัดหางาน ขออนุมัติ
นำเข้าแรงงานตามระบบ MOUขั้นตอนที่ 3ส่งคำร้องให้ประเทศต้นทาง
ส่งคำร้องให้ประเทศต้นทางตามระบบ MOU กำหนดขั้นตอนที่ 4คัดกรอง/ คัดสรรแรงงาน
คัดกรอง/ คัดสรรแรงงาน ตามความต้องการของนายจ้างขั้นตอนที่ 5เซ็นสัญญาจ้างงาน
เซ็นสัญญาจ้างงาน / ทำบัญชีรายชื่อขั้นตอนที่ 6รับรองบัญชีรายชื่อ
รับรองบัญชีรายชื่อ (Name list) กับกรมการจัดหางานขั้นตอนที่ 7ขออนุมัติออกด่าน
ขออนุมัติออกด่าน พรมแดน ตามกระบวนการขั้นตอนที่ 8ตรวจโรค
ตรวจโรค / คัดกรองโควิด 19ขั้นตอนที่ 9ตรวจลงตราวีซ่า
ตรวจลงตราวีซ่า / อบรมที่ศูนย์แรกรับฯขั้นตอนที่ 10แจ้งที่พัก
แจ้งที่พัก/ จัดทำเอกสาร ใบอนุญาตทำงาน
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการนำเข้าแรงงาน MOU
1. บัตรสีชมพู กับ ใบอนุญาตทำงาน ต่างกันอย่างไร?
บัตรสีชมพู เป็นบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่ใช่สัญชาติไทยที่กรมการปกครองออกให้ เป็นบัตรประจำตัวที่ออกตามระเบียบ เพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงตัวตน เพื่อยืนยันตัว
ส่วนใบอนุญาตทำงาน เป็นใบอนุญาตประกอบอาชีพสำหรับชาวต่างชาติที่จะเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมาย
2. แรงงานต่างด้าวที่สามารถขอใบอนุญาตทำงานได้ ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
- ต้องมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย หรือได้รับอนุญาตเพื่อเข้ามาในประเทศชั่วคราวตามกฎหมายการตรวจคนเข้าเมือง
- มีทักษะ ความรู้ และความสามารถ ตามประเภทของงาน
- ไม่มีการเจ็บป่วยด้วย 6 โรค ตามหลักประเมินการตรวจสุขภาพที่กำหนด
- ไม่เคยรับโทษการจำคุกด้วยความผิดว่าด้วยเรื่องการเป็นคนเข้าเมือง
3. 6 โรคของแรงงานต่างด้าวที่ไม่สามารถ ยื่นขอ ใบอนุญาตทำงานได้มีอะไรบ้าง
- โรคเรื้อน
- วัณโรค
- โรคยาเสพติดให้โทษ
- โรคพิษสุราเรื้อรัง
- โรคเท้าช้าง
- โรคซิฟิลิส หรือ โรคติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
ผลงานของเรา