
บัตรสีชมพู คืออะไร ? ใช้ทำอะไรได้บ้าง ต่างจากใบอนุญาตทำงานอย่างไร
28 มิถุนายน 2024
MOU คืออะไร ? สำคัญอย่างไร การนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU มีขั้นตอนอะไรบ้าง
15 สิงหาคม 2024การนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับนายจ้างและเจ้าของธุรกิจที่มีความต้องการแรงงาน เนื่องจากเป็นวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ได้แรงงานที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ และมีสุขภาพแข็งแรง นายจ้างจึงหมดกังวลและมุ่งพัฒนาธุรกิจของตนได้อย่างราบรื่น ทั้งนี้ แรงงานต่างด้าว MOU สามารถทำงานในประเทศไทยได้ 2 ปี และต่ออายุได้อีก 2 ปี (รวม 4 ปี) จึงเกิดคำถามที่ว่า เมื่อแรงงานต่างด้าวครบวาระ 4 ปี นายจ้างควรทำอย่างไรต่อไป
ฉะนั้น บทความนี้จะมาแนะนำวิธีและขั้นตอนที่นายจ้างสามารถทำตามเมื่อแรงงานต่างด้าว MOU ครบวาระ 4 ปี เพื่อให้แรงงานสามารถทำงานกับตนเองได้ต่อไปโดยไม่ละเมิดกฎหมายแรงงาน
แรงงาน MOU ครบ 4 ปี ทำอย่างไร ?
แรงงานต่างด้าว MOU ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยทั้ง 3 สัญชาติ คือ กัมพูชา ลาว และเมียนมา เมื่อครบวาระ 2 ปี สามารถยื่นเรื่องขออยู่ต่อในประเทศไทยโดยไม่จำเป็นต้องกลับประเทศต้นทาง ซึ่งต่อเพิ่มได้อีก 2 ปี รวมเป็นระยะเวลาที่อยู่ในไทยได้ทั้งหมด 4 ปี โดยนายจ้างต้องพาแรงงานไปตรวจสุขภาพ พร้อมยื่นเอกสารต่างๆ เพื่อต่อใบอนุญาตทำงานกับกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน และต่อวีซ่าแรงงานต่างด้าวกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ท้องที่ หรือจังหวัด ที่นายจ้างตั้งอยู่
แรงงานต่างด้าวที่มีความสามารถ รวมไปถึงมีพฤติกรรมที่ดีในการทำงานกับทางนายจ้างไม่ขาดลามาสายอยู่บ่อยครั้งและมีพฤติการณ์ที่ขยันทำงานมีประสิทธิภาพให้กับทางนายจ้างก็จะได้รับการพิจารณาเรื่องของการต่ออายุหรือพิจารณา เพื่อทำเอกสารนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU อีกครั้ง ในรูปแบบของแรงงานต่างด้าว Return
ซึ่งแต่เดิมนั้น เมื่อแรงงานต่างด้าวครบวาระ 4 ปี นายจ้างสามารถต่ออายุ MOU ที่ครบ 4 ปี ออกไปอีกได้ 2 ปีเพื่อลดเวลาและลดค่าใช้จ่าย รวมไปถึงการหลีกเลี่ยงการเดินทางไปกลับ ช่วงสถานการณ์ของโรคระบาด โควิด19 กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงาน จึงมีการออกนโยบายต่อเอกสารที่ครบวาระ 4 ปี ในประเทศไปพลางก่อน อีก 2 ปี เพิ่มเติมจากวีซ่าเดิมให้เป็นทั้งหมด 6 ปีได้ โดยที่แรงงานไม่จำเป็นต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง อย่างไรก็ตามประกาศล่าสุดจากอธิบดีกรมการจัดหางาน ในปี 2567 ได้กำหนดให้แรงงานต่างด้าวครบวาระ 4 ปี ไม่สามารถต่ออายุในประเทศไทยได้แล้ว หากอยู่เกินกำหนดอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร จะมีความผิดตามกฎหมายคนเข้าเมือง ดังนั้น แรงงานต่างด้าว MOU ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางก่อนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุด จากนั้น นายจ้างจึงขอยื่นคำร้องต่อกรมการจัดหางานใหม่อีกครั้งหนึ่ง หรือเป็นการดำเนินการแบบ รีเทิร์นที่แรงงานมีการยื่นเอกสารการนำเข้าแรงงาน MOU แบบ 4 ปี หรือ 6 ปี ล่วงหน้าไปก่อนที่จะครบวาระ หรือครบอายุวีซ่าการทำงาน เพื่อให้ทันต่อกระบวนการนำเข้า
ขั้นตอนการยื่นคำร้องแรงงานต่างด้าว MOU ครบวาระ 4 ปี
โดยปกติ ระยะเวลาดำเนินการนำเข้าแรงงาน MOU หลังจากที่ได้รับอนุมัติคำร้องขอนำเข้าคนต่างด้าว (Demand Letter) จะใช้ระยะเวลาดำเนินการ 45 – 60 วันทำการ กรมการจัดหางานจึงแนะนำให้นายจ้างจัดเตรียมและยื่นเอกสารใหม่ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 – 6 เดือน โดยมีขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้
1. นายจ้างยื่นคำร้อง (Demand Letter)
นายจ้างจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง พร้อมยื่นคำร้องหรือ Demand Letter พร้อมเอกสารต่างๆ ของทางบริษัท เพื่อยื่นกับ สำนักงานจัดหางานจังหวัด และกรมการจัดหางาน ซึ่งเอกสารของนายจ้าง อาทิเช่น สำเนาหนังสือรับรองบริษัท สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนการค้าหรือทะเบียนพาณิชย์ หรือภพ. 20 และใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) (ถ้ามี)
นอกจากนี้ ยังต้องเตรียมเอกสารของแรงงานต่างด้าว ได้แก่ สำเนาหน้าหนังสือเดินทาง (Passport) สำเนาวีซ่า VISA สำเนาใบอนุญาตทำงาน (Work permit) รูปถ่ายแรงงานขนาด 1 นิ้วครึ่ง หรือ 2 นิ้ว 6 รูป พื้นหลังสีขาว ประกอบไปพร้อมกับ คำร้อง เพื่อยื่นการนำเข้าแรงงานต่างด้าว กลุ่มนั้นๆ ที่ต้องการ
2. จัดส่งเอกสารคำร้องการนำเข้าแรงงานต่างด้าว
จัดส่งเอกสารคำร้องการนำเข้าแรงงานต่างด้าวที่ครบวาระ 4 ปี หรือ 6 ปี นั้นไปให้บริษัทที่ประเทศต้นทาง ที่ดำเนินการส่งออกแรงงานต่างด้าว จัดหาแรงงานต่างด้าว ทั้งคนเก่า-คนใหม่ จัดทำบัญชีรายชื่อ (เนมลิสท์) ตามรายชื่อที่กำหนดไว้ในแบบคำร้อง ทั้งนี้ ต้องตรวจสอบด้วยว่า หนังสือเดินทางของแรงงานต่างด้าว ที่ประสงค์จะทำนำเข้ามาอีกรอบนั้น มีอายุ เกินกว่า 2ปี 3 เดือน หรือไม่ ก่อนด้วย หากมีอายุไม่ถึงก็จำเป็นจะต้องจัดทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ก่อนจะมีการจัดทำบัญชีรายชื่อหรือเนมลิสท์ นั่นเอง
3. เตรียมเอกสารแรงงานต่างด้าว พร้อมชำระค่าธรรมเนียม
ภายหลังได้รับบัญชีรายชื่อจากบริษัทนำเข้าแรงงาน MOU จากประเทศต้นทางแล้ว จึงดำเนินการเตรียมเอกสารแรงงานต่างด้าวนั้น พร้อมชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน 1,900 บาท แทนคนต่างด้าวที่สำนักงานจัดหางานเขตพื้นที่ และกรมการจัดหางานเป็นลำดับถัดไป จนกว่าจะได้รับอนุมัติจากกรมการจัดหางานเพื่อที่จะดำเนินการการนำเข้าใหม่อีกครั้งได้
4. จัดส่งเอกสารบัญชีรายชื่อ
จากนั้นจึงจะส่งเอกสารบัญชีรายชื่อที่ได้รับการอนุมัติจากกรมการจัดหางาน ให้กับบริษัทเอเจนซี่ของคนต่างด้าวแต่สัญชาติ ที่ประเทศต้นทางเพื่อยื่นขอวีซ่าที่สถานทูตไทย จึงจะสามารถนำเข้ามาได้อีกครั้งหนึ่ง
5. ดำเนินการนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU
ภายหลังการได้รับวีซ่า เป็นที่เรียบร้อย ก็ให้ดำเนินการนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU ตามขั้นตอนเหมือนคนต่างด้าวคนใหม่ที่ด่านพรมแดน โดยให้นำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU นี้มาตรวจสุขภาพตามที่กำหนดใหม่ ผ่านการอบรมที่ศูนย์แรกรับและสิ้นสุดการจ้างงาน ของกรมการจัดหางาน เพื่อออกใบอนุญาตทำงานใบใหม่

เมื่อดำเนินตามขั้นตอนทั้งหมดอย่างครบถ้วน แรงงานต่างด้าวจะได้รับอนุญาตให้กลับเข้ามาในราชอาณาจักรและทำงานต่อได้ตามปกติ
ทั้งนี้การนำเข้าแรงงานต่างด้าวครบวาระ 4 ปี และ 6 ปี อาจมีขั้นตอนหลากหลาย และอาจต้องจัดเตรียมเอกสารต่างๆ ให้ครบถ้วนอีกด้วย เพื่อให้การยื่นคำขอแรงงานต่างด้าวครบวาระ 4 ปี เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว นายจ้างสามารถพิจารณาใช้บริการจากบริษัทนำเข้าต่างด้าว ที่น่าเชื่อถืออย่างเรา บริษัท ดิ อิมพอร์ตเตอร์ 168 ซึ่งมีบริการอย่างครบครันตั้งแต่การนำเข้าแรงงานต่างด้าว เปลี่ยนสถานะแรงงาน รวมถึงบริการดูแลแรงงานต่างด้าว ดูแลตลอดการทำเอกสาร ดูแลเรื่องการเดินทาง และทำเอกสารจบครบถ้วน
อนึ่ง กระบวนการการนำเข้าที่กล่าวมาข้างต้น ทั้งรูปแบบการนำเข้า แรงงานกัมพูชาและแรงงานลาวจะมีความคล้ายคลึงกันทุกขั้นตอน ผิดไปก็เพียงแต่ส่วนแรงงานพม่านั้น ขั้นตอนและกระบวนการอาจจะซับซ้อน ที่มีเพิ่มเติมมากขึ้น นั่นก็คือขั้นตอนของการยื่นที่เรื่องที่สำนักงานทูตแรงงาน ก่อนการอนุมัติจากประเทศต้นทาง ให้เข้ามาอีกครั้ง โดยกรมการจัดหางานของพม่ากรุงเนปิดอร์ นั่นเอง
บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ดิ อิมพอร์ตเตอร์ 168 จำกัด
ดิอิมพอร์ตเตอร์ 168 บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ได้จดทะเบียนอนุญาตในการนำเข้าแรงงานต่างด้าวตามระบบ MOU (เมียนมา กัมพูชา และลาว) กับกรมจัดหางานและกระทรวงแรงงานตามพระราชกำหนดการทำงานคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 สามารถจัดหาแรงงานต่างด้าวและดำเนินการเอกสารทุกรูปแบบเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ บริษัทได้วางหลักประกัน กับกรมการจัดหางานเป็นจำนวนเงิน 5 ล้านบาท เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นายจ้างที่มาใช้บริการ
บริการของ ดิอิมพอร์ตเตอร์ 168 คือ การนำเข้าแรงงานต่างด้าว โดยบริษัทจะเป็นผู้ดำเนินการเอกสารให้ทุกขั้นตอน ดูแลการจ้างแรงงานต่างด้าวให้ตลอดสัญญา รวมไปถึงการจัดการเอกสารของแรงงานต่างด้าว เช่น การไปรายงานตัวทุก 90 วัน ต่อใบอนุญาตทำงาน ต่อวีซ่าและเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าว ด้วยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์กว่า 15 ปี โดยเรามีนโยบายและจุดมุ่งหมายของการทำงานของทางบริษัทคือให้นายจ้างที่ประสงค์จะจ้างแรงงานต่างด้าว mou มีความสะดวกสบายที่สุดเสมือนหนึ่งกับการใช้แรงงานไทย
หากสนใจการนำเข้าแรงงาน MOU ติดต่อ บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ดิ อิมพอร์ตเตอร์ 168 จำกัด ผ่านช่องทางที่ระบุด้านล่าง
โทร.: 02-101-2814, 081-1717894
อีเมล: importer168@gmail.com
LINA OA: The Importer 168
Facebook: The Importer 168 นำเข้าต่างด้าว
เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้ธุรกิจของท่านเติบโตและมีส่วนสนับสนุนภาพแรงงานในส่วนของการผลิตให้กับธุรกิจของท่าน