อาชีพต้องห้ามต่างด้าว มีอะไรบ้าง นายจ้าง-แรงงานควรรู้ก่อนทำผิดกฎหมาย
23 สิงหาคม 2024อยากจัดหาแรงงานพม่า มาทำงาน ควรเริ่มต้นอย่างไร?
26 กันยายน 2024การนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU คือ กระบวนการจัดหาและนำเข้าแรงงานต่างด้าวตามเอกสารบันทึกข้อตกลง ในการร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลไทยและประเทศใกล้เคียง หรือเรียกสั้นๆ ว่า “การทำ MOU” เพื่อเป็นข้อตกลงในการส่งออกและนำเข้าแรงงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เป็นระเบียบและมีมาตรฐาน พร้อมทั้งให้การคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการของแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม โดยแรงงานที่ได้รับความนิยมจะมีอยู่ 3 สัญญาติ คือ การจัดหาแรงงานพม่า ลาว และเขมร
การนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU มีข้อดีอะไรบ้าง
สำหรับการนำเข้าแรงงานหรือต่างด้าว MOU นั้นมีข้อดีหลายอย่าง ดังนี้
- สามารถนำเข้าแรงงานต่างด้าว เข้ามาทำงานในประเทศได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
- สามารถเลือกแรงงานได้ตรงตามความต้องการ และจ้างแรงงานจำนวนมากได้
- ได้แรงงานต่างด้าวที่มีคุณภาพ สามารถตรวจสอบประวัติและเอกสารต่างๆ ได้สะดวก
- มีค่าใช้จ่ายในการนำเข้าแรงงานที่น้อย
- ไม่เสี่ยงต่อการจ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย
การนําเข้าแรงงาน MOU มีข้อเสียอะไรบ้าง
แม้ว่าการนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU จะมีข้อดีหลายอย่าง แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีข้อเสีย ที่นายจ้างและบริษัทต่างๆ ต้องพิจารณา ดังนี้
- การนำเข้าแรงงาน MOU มีขั้นตอนที่ซับซ้อน จึงต้องมีความละเอียดรอบคอบ
- ใช้ระยะเวลานานในการดำเนินการนำเข้าแรงงาน
- อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ในการให้แรงงานเดินทางเข้ามาในประเทศ
การนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU มีขั้นตอนอะไรบ้าง
มาถึงตรงนี้เชื่อว่านายจ้างหลายคน คงเกิดความอยากรู้ขึ้นมาแล้วว่า หากต้องการแรงงานต่างด้าว ต้องทําอย่างไร ? ซึ่งในการนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU จะมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
- ดำเนินการจดทะเบียนและขออนุญาตนำเข้าแรงงานต่างด้าว ซึ่งสามารถทำได้เองผ่านเว็บไซต์ https://www.doe.go.th/ หรือยื่นขออนุญาติที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด ตามที่อยู่ของนายจ้างหรือบริษัท
- ทำการชำระค่าธรรมเนียมขออนุญาตนำเข้าแรงงานต่างด้าว ค่าตรวจลงตรา และค่าตรวจสุขภาพ
- แรงงานต้องทำการยื่นขอวีซ่าที่สถานทูตหรือสถานกงสุลไทย ณ ประเทศต้นทางของแรงงานต่างด้าว
- แรงงานเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองตามที่ระบุในใบอนุญาตทำงาน
- เจ้าหน้าที่ ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง ทำการตรวจลงตราและตรวจสุขภาพของแรงงาน
- แรงงานทำการยื่นขออนุญาตทำงาน ณ สำนักงานจัดหางานในจังหวัดตามที่ตั้งของนายจ้าง
นำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU ต้องมีเอกสารอะไรบ้าง
สำหรับการนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU ที่เข้ามาทำงานอย่างถูกกฎหมายในประเทศไทย แรงงานควรมีเอกสารสำคัญ 6 อย่าง ดังนี้
- หนังสือเดินทาง หรือ Passport
- วีซ่า (Visa) ที่ยังไม่หมดอายุ
- ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)
- บัตรสีชมพู อนุญาตทำงานสำหรับคนที่ไม่มีสัญชาติไทย สำหรับแรงงานในระบบ MOU จะไม่มีบัตรสีชมพู
- ใบลงทะเบียนเข้าประเทศ
- ใบรับรองแพทย์
- ประกันสุขภาพหรือประกันสังคม สำหรับแรงงานต่างด้าว
ในการนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU แม้จะมีรายละเอียดและขั้นตอนที่ค่อนข้างซํบซ้อน แต่สำหรับนายจ้างที่ต้องการดำเนินการนำเข้าแรงงานต่างด้าวด้วยตัวเอง ก็สามารถทำได้ แต่ต้องมีความละเอียดรอบคอบในทั้งเรื่องการเตรียมเอกสาร และดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าว อย่าง The Importer 168 เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก ในการดำเนินการนำเข้าแรงงานต่างด้าวให้ในทุกขั้นตอน ช่วยลดความยุ่งยาก และประหยัดเวลาให้กับนายจ้างได้เป็นอย่างดี
หากสนใจการนำเข้าแรงงาน MOU ติดต่อ ดิ อิมพอร์ตเตอร์ 168 จำกัด ได้ที่ด้านล่าง
โทร.: 02-101-2814, 081-1717894
อีเมล: importer168@gmail.com
LINA OA: The Importer 168
Facebook: The Importer 168 นำเข้าต่างด้าว