ความเข้าใจที่ถูกต้องในการจ้างแรงานต่างด้าว 4 สัญชาติ
6 กุมภาพันธ์ 2024บัตรสีชมพู คืออะไร ? ใช้ทำอะไรได้บ้าง ต่างจากใบอนุญาตทำงานอย่างไร
28 มิถุนายน 2024ปัญหาแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านทั้งพม่า ลาว และกัมพูชาที่หลบหนีเข้าประเทศไทยมาทำงานอย่างผิดกฎหมาย ยังคงมีอย่างต่อเนื่องและเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี อันเป็นผลมาจากภัยสงคราม พิษเศรษฐกิจที่ซบเซาอย่างต่อเนื่อง และความแตกต่างของค่าแรงที่ค่อนข้างสูง ซึ่งนายจ้างคนไทยส่วนหนึ่งยังคงมีการแอบจ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย แทนการจ้างแรงงานถูกกฎหมายอย่างต่างด้าว MOU เพื่อหวังที่จะลดต้นทุนค่าแรง ไม่ต้องจ่ายเงินประกันสังคม และหลีกเลี่ยงปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน รวมไปถึงการทำเอกสารที่ยุ่งยาก ซับซ้อน หลากหลายขั้นตอน ประกอบกับความจำเป็นเร่งด่วนในการใช้แรงงานต่างด้าวให้ทันต่อการผลิตในช่วงระยะเวลาอันสั้นจึงตัดสินใจใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายไปก่อน
การจ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย
ที่ผ่านมา การลักลอบเข้าเมืองของแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่ผ่านมากระทำกันอย่างเป็นขบวนการ มีผู้เกี่ยวข้องทั้งนายหน้า ผู้มีอิทธิพล และเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมอยู่ด้วย ทางกระทรวงแรงงานจึงได้มีการดำเนินการแบบบูรณาการร่วมกับฝ่ายความมั่นคง ทหาร ตำรวจ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และฝ่ายปกครองทำการจัดชุดเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบ ปราบปราม จับกุม และดำเนินคดีอย่างจริงจังกับแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย นายจ้าง สถานประกอบการ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบนำเข้าแรงงานต่างด้าว เพื่อป้องปรามมิให้กระทำความผิด และทำโทษผู้กระทำความผิดไม่ให้กระทำผิดซ้ำอีก
นอกจากนี้ ทางกระทรวงแรงงานได้ขอความร่วมมือนายจ้างและสถานประกอบการ หากมีความต้องการใช้และอยากจ้างแรงงานต่างด้าว ให้จ้างแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมาย หรือดำเนินการตามกระบวนการนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาทำงานแบบ MOU อย่างเป็นระบบ ซึ่งทางกระทรวงแรงงานได้ทำข้อตกลงร่วมกันกับทางรัฐบาลประเทศต้นทางอย่าง พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม วางแผนให้ประเทศไทยมีจำนวนแรงงานต่างด้าวที่เหมาะสมกับความต้องการ ส่วนแรงงานต่างด้าว ก็จะอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้อย่างถูกกฎหมาย และได้รับการคุ้มครองสิทธิ์ตามกฎหมายแรงงานเช่นเดียวกับแรงงานไทย
ในบทความนี้ บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ดิ อิมพอร์ตเตอร์ 168 จำกัด จะขอนำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทลงโทษตามกฎหมายแรงงาน กรณีการจ้างแรงงานต่างด้าวผิดนายจ้าง หรือนายจ้างฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการจ้างแรงงานต่างด้าว มีอะไรบ้าง และการนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU มีประโยชน์อย่างไร
กฎหมายและบทลงโทษ จากการจ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย
ในส่วนของนายจ้าง หรือผู้จ้างแรงงานต่างด้าว
มาตรา 9 ห้ามผู้ใดรับคนต่างด้าวทำงานโดยที่คนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือให้คนต่างด้าวทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดนี้
บทลงโทษ
มาตรา 9 นายจ้าง/สถานประกอบการที่รับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงาน หรือให้คนต่างด้าวทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิ ฝ่าฝืนมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน หากกระทำผิดซ้ำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับตั้งแต่ 50,000 – 200,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามจ้างคนต่างด้าวทำงานเป็นเวลา 3 ปี นับแต่มีคำพิพากษาถึงที่สุด
ในส่วนของลูกจ้างที่เป็นแรงงานต่างด้าว
มาตรา 8 ห้ามคนต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดนี้
การทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิ์หมายถึง การทำงานในอาชีพที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือแรงงานไปทำงานในลักษณะอื่นๆ ที่ไม่ตรงตามใบอนุญาตกำหนด เช่นเป็นกรรมกรยกแบกหามแต่ไปทำหน้าที่ในส่วนของช่างฉาบปูน ช่างเหล็ก ช่างไม้ หรือผู้รับเหมาเสียเอง หรือแรงงานขายของหน้าร้าน เป็นต้น
บทลงโทษ
มาตรา 8 คนต่างด้าวที่ทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้ ฝ่าฝืนมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท และถูกส่งกลับประเทศต้นทาง รวมถึงห้ามขอใบอนุญาตทำงานเป็นเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับโทษ
เป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่าข้อจำกัดการจ้างแรงงานต่างด้าวในประเทศ ก็มีข้อจำกัดเรื่องของจำนวนแรงงาน รวมไปถึงเรื่องเอกสารของแรงงานต่างด้าว ระยะเวลา และขั้นตอนซึ่งอาจมีความยุ่งยากและซับซ้อน หลายๆ นายจ้างจึงไม่เลือกที่จะนำเข้าแรงงานMOU ด้วยช่วงของระยะเวลาการนำเข้า ขั้นตอนอาจไม่ทันต่อกระบวนการผลิตหรือทันต่อหน้างานการเลือกใช้แรงงานต่างด้าว หรือหลบเลี่ยงใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายจึงเป็นทางเลือกอันดับต้นๆ ของนายจ้าง
แต่กระนั้นเองก็เป็นกระบวนการที่มีความเสถียรและถูกต้องที่สุด ในส่วนของการนำเข้าแรงงานต่างด้าว ซึ่งทางนายจ้างจะพิจารณาจัดหาแรงงานต่างด้าวนำเข้าแรงงาน MOU เอง หรือให้บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศเป็นผู้รับมอบอำนาจในการดำเนินการก็ย่อมได้ ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนและกระบวนการ รวมไปถึงความซับซ้อนไม่เสียเวลาในการประกอบธุรกิจของทางนายจ้าง อีกอย่างหนึ่งคือ มีความเชี่ยวชาญและชำนาญการในเรื่องของการนำเข้าแรงงานต่างด้าวMOU ด้วย
การจ้างแรงงานถูกกฎหมาย มีประโยชน์อย่างไร
1.ช่วยลดความเสี่ยงจากการค้ามนุษย์
การนำเข้าและจ้างแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย อย่างแรงงานต่างด้าว MOU จะมีกระบวนการที่ถูกกฎหมายและโปร่งใส เพราะเป็นความร่วมมือและการตกลงร่วมกันระหว่างรัฐบาลของประเทศต้นทางและประเทศปลายทาง มีการจดทะเบียน ตรวจสอบประวัติ และออกหนังสือเดินทางและใบอนุญาตทำงานที่ถูกต้องให้กับแรงงานต่างด้าว ทำให้สามารถติดตามและควบคุมการเคลื่อนย้ายได้ อีกทั้งยังมีการทำสัญญาจ้างโดยตรงกับนายจ้าง มีระบบการเก็บเงินค่าจ้าง และค่าใช้จ่ายต่างๆ อย่างเป็นธรรม
2.ช่วยคัดกรองประวัติแรงงานต่างด้าว
การนำเข้าแรงงานต่างด้าวตาม MOU จะช่วยคัดกรองประวัติของแรงงานต่างด้าวก่อนอนุญาตให้เข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งเป็นมาตรการที่ช่วยป้องกันไม่ให้บุคคลที่มีประวัติอาชญากรรม หรือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศเข้ามาได้ หากพบประวัติร้ายแรงจะไม่อนุญาตให้เข้าทำงาน ดำเนินคดีตามกฎหมาย และส่งกลับไปยังประเทศต้นทางทันที
3.มีความเป็นธรรมให้ทั้งกับนายจ้าง และลูกจ้าง
ข้อดีในส่วนของนายจ้างที่จะได้รับ
- การนำเข้าแรงงานผ่าน MOU จะเป็นการนำเข้าแรงงานที่ได้รับความสนับสนุน การร่วมมือ และอยู่ในความดูแลจากหน่วยงานของฝ่ายรัฐ
- ช่วยนายจ้างจัดหาแรงงานต่างด้าวให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการ
- ช่วยลดปัญหาแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีในประเทศโดยไม่มีหลักฐานระบุตัวตน
- มีการคัดกรองคุณสมบัติ คัดกรองสุขภาพ ไม่เป็นผู้วิกลจริตและไม่มีโรคติดต่ออันตรายร้ายแรง
- นายจ้างจะได้แรงงานต่างด้าวนำเข้าหรือ ต่างด้าวMOU ที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของนายจ้าง โดยการคัดสรร ที่ตรงตามคุณลักษณะที่นายจ้างต้องการรวมไปถึงสัดส่วนของแรงงานต่างด้าวด้วย
ข้อดีในส่วนของแรงงานต่างด้าวที่จะได้รับ
ในส่วนของแรงงานต่างด้าวเอง หากเข้ามาทำงานผ่านระบบ MOU ก็จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานไทย สามารถอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีใบอนุญาตทำงาน ไม่ต้องหลบซ่อน มีสวัสดิการ ได้รับสิทธิ์จากประกันสังคม และได้รับการคุ้มครองสิทธิ์จากกฎหมายแรงงานไม่ต่างจากแรงงานไทย
บริษัทนำคนต่างด้าวถูกกฎหมาย ดิ อิมพอร์ตเตอร์ 168
ดิอิมพอร์ตเตอร์ 168 เป็นบริษัทนําเข้าแรงงานต่างด้าว มาทํางานในประเทศ ได้จดทะเบียนอนุญาตในการนำเข้าแรงงานต่างด้าวตามระบบ MOU (เมียนมา กัมพูชา และลาว) กับกรมจัดหางานและกระทรวงแรงงานตามพระราชกำหนดการทำงานคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 สามารถจัดหาแรงงานต่างด้าวและดำเนินการเอกสารทุกรูปแบบเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ บริษัทได้วางหลักประกัน กับกรมการจัดหางานเป็นจำนวนเงิน 5 ล้านบาท เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นายจ้างที่มาใช้บริการ
บริการของ ดิอิมพอร์ตเตอร์ 168 คือ การนำเข้าแรงงานต่างด้าว โดยบริษัทจะเป็นผู้ดำเนินการเอกสารให้ทุกขั้นตอน ดูแลการจ้างแรงงานต่างด้าวให้ตลอดสัญญา รวมไปถึงการจัดการเอกสารของแรงงานต่างด้าว เช่น การไปรายงานตัวทุก 90 วัน ต่อใบอนุญาตทำงาน ต่อวีซ่าและเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าว ด้วยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์กว่า 15 ปี โดยเรามีนโยบายและจุดมุ่งหมายของการทำงานของทางบริษัทคือให้นายจ้างที่ประสงค์จะจ้างแรงงานต่างด้าว MOU มีความสะดวกสบายที่สุดเสมือนหนึ่งกับการใช้แรงงานไทย
หากสนใจการนำเข้าแรงงาน MOU ติดต่อบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ดิ อิมพอร์ตเตอร์ 168 จำกัด ได้ที่ด้านล่าง
โทร.: 02-101-2814, 081-1717894
อีเมล: importer168@gmail.com
LINA OA: The Importer 168
Facebook: The Importer 168 นำเข้าต่างด้าว
เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้ธุรกิจของท่านเติบโตและมีส่วนสนับสนุนภาพแรงงานในส่วนของการผลิตให้กับธุรกิจของท่าน