ความเข้าใจที่ถูกต้อง

ในการจ้างแรงานต่างด้าว 4 สัญชาติ ปัจจุบัน แรงงานต่างด้าวในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน สอง กลุ่ม ก็คือกลุ่มที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย

แรงงาน นำเข้าตามระบบ MOU จะแบ่งออกเป็น 4 สัญชาติ คือเมียนมา กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ซึ่งทั้ง 4 สัญชาติทางนายจ้างที่มีความประสงค์จะจ้างแรงงานต่างด้าว สามารถทำเนินการนำเข้า แรงงาน ทั้ง 4 สัญชาติได้ตลอดทั้งปี ไม่มีกำหนด และไม่มีการปิด หากต้องการจ้างแรงงานทั้งที่เป็นคนเก่าและคนใหม่ ก็ สามารถดำเนินการตามระบบนี้ได้ โดยเป็นกระบวนการที่ถูกต้องและได้รับการรับรองจากกรมการจัดหางาน ฝั่งประเทศไทยและจากประเทศต้นทางทั้ง 4 ประเทศ ซึ่งแรงงาน จะต้องมีเอกสารในการนำเข้า ที่ครบถ้วน จึงจะ สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย นั่นก็คือ

คำถามที่พบบ่อย

แรงงานกลุ่มMOU นี้ต่างกับแรงงานกลุ่มเดิม ที่อยู่ในประเทศอย่างไร ?

เป็นแรงงานต่างด้าวเหมือนกัน แต่อาจจะเข้ามาทำงานในประเทศไทย แบบทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย แรงงานที่ถูกกฎหมาย(เคยผิดกฎหมายมาก่อน) นั้น อาจได้รับการอยู่ในประเทศโดยผ่านการขึ้นทะเบียน ทำพาสปอร์ต และบัตรชมพู หรือที่รู้จักกันในนาม แรงงานกลุ่มพิสูจน์สัญชาติ(บัตรชมพู) ซึ่งเดิมกลุ่มที่ครบวีซ่า 4 ปี ต้องกลับไปประเทศต้นทาง เพื่อดำเนินการนำเข้า MOU แต่ด้วยภาวะโรคระบาดเลยเปิดขึ้นทะเบียนในประเทศไทยไปก่อน จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น

ปลอดภัยแค่ไหน กับการจ้างแรงงานกลุ่ม MOU ?

ท่านสามารถวางใจได้ แรงงานทุกคนที่บริษัทของเรานำเข้ามาทุกคนนั้น ถูกกฎหมายเอกสารชัดเจน ตรวจสอบได้ ตัวแรงงานเองนั้นผ่านการคัดกรอง อบรม และทำความเข้าใจในรายละเอียดงานทุกคน จากภาพงาน และรายละเอียดงาน ที่ทางเราขอจากทางนายจ้าง และอีกประการสำคัญ แรงงานทุกคนมีความคาดหวังกับการทำงาน ต้องการหาเงินเพื่อส่งกลับจุนเจือครอบครัวที่ยากจน ตั้งใจมาทำงาน ไม่สร้างปัญหาและภาระให้กับนายจ้าง จึงปลอดภัยและสบายใจ ว่าใช้แรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย มั่นใจได้ว่าใช้แรงงานกลุ่มนี้ปลอดใต้โต๊ะ

นายจ้างต้องทำอย่างไรเมื่อต้องการจ้างแรงงาน MOU ?

ไม่ต้องวุ่นวายการยื่นเอกสาร ทุกขั้นตอนการนำเข้าแรงงานนี้ ทาง บนจ.ดิ อิมพอร์ตเตอร์ 168 จำกัด ของเราจะเป็นผู้ดำเนินการให้ทุกขั้นตอน ตลอดจนดำเนินการด้านเอกสารให้ครบถ้วน เพียงแต่นายจ้างต้องจัดเตรียมเอกสารที่ใช้ประกอบการนำเข้า ดังรายละเอียดที่จะจัดส่งให้ หลังจากนั้นทางเรา จะดำเนินการให้ ครบทุกขั้นตอน เอกสารครบถ้วนตามกฎหมาย

งานไม่มีโอที(O.T.) จ้าง MOU ได้หรือไม่ ?

จ้างได้ แต่ หากจ้างไปสักระยะหนึ่ง แล้วไม่มีโอที (บางช่วงเวลา) แรงงานพอเข้าใจได้กับ เนื้องาน หากเป็นงานที่ไม่มีโอทีตั้งแต่แรกเลย อาจจะค่อนข้างลำบากในการหาผู้สมัครงาน เนื่องจากแรงงานกลุ่มนี้ คาดหวังรายได้จากเงินเดือนเพื่อส่งกลับทางบ้าน ส่วน โอทีนั้นจะเก็บไว้เป็นค่าใช้จ่ายประจำเดือน หากไม่มีโอที อาจจะทำงานได้ไม่นาน อาจขอกลับก่อนครบสัญญาหรือหลบหนีไปในที่สุด เพราะด้วยรายได้ไม่พอส่งทางบ้าน ไม่สามารถทำงานได้ในระยะยาวๆ ทำให้นายจ้างเสียเวลาฝึกฝนแรงงานใหม่อีก

สวัสดิการที่นายจ้างต้องจ่ายมีอะไรบ้างและต้องปฏิบัติตนอย่างไร ?

แรงงานทุกคน สมควรได้รับการปฏิบัติเช่นแรงงานไทยเลย คือได้รับสวัสดิการตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานไทยกำหนด เช่น ค่าแรงขั้นต่ำ ,ค่าแรงทำงานนอกเวลา, วันหยุดประจำสัปดาห์ ฯ,วันหยุดประเพณี(นักขัตฤกษ์) 13 วัน หากนายจ้างมีสวัสดิการอื่นๆที่มีอยู่แล้ว ก็สามารถจ่ายให้กับแรงงานต่างด้าวได้ เช่น ค่าครองชีพ เบี้ยขยัน ค่ากะ ค่าตำแหน่ง ค่าเสี่ยงภัย ค่าชิ้นงาน หรืออื่นๆ ตามที่มี ส่วนเรื่องที่พัก ค่าน้ำ-ค่าไฟ นายจ้าง เป็นผู้จัดและให้แรงงานเป็นผู้จ่ายเองรายเดือนได้

ต้องยื่นประกันสังคม ให้กับแรงงานกลุ่มนี้หรือไม่ ?

นายจ้างต้องทำการยื่นประกันสังคมให้กับแรงงานทุกคน หลังจากแรงงานเริ่มทำงานให้กับนายจ้างแล้ว โดยต้องหักเงินส่งสมทบกองทุนประกันสังคม 5 % จากค่าแรง ของแรงงาน และนายจ้างจ่ายสมทบอีก 5 % เช่นกันทุกคน

แรงงานที่ บนจ. ดิ อิมพอร์ตเตอร์ 168 นำเข้ามานั้น มีการรับประกันให้หรือไม่

มี เรามีการรับประกันให้กับนายจ้าง คือ คืนค่าบริการ หรือชดเชยแรงงานให้ใหม่ ตามจำนวนแรงงานที่หลบหนีหรือส่งกลับ โดยการเพิ่มเติมจากชุดใหม่ หากนายจ้างประสงค์ต้องการแรงงานเพิ่มเติมอีก โดยไม่มีค่าบริการ(สำหรับการทดแทน) ทั้งนี้ แรงงานที่นำเข้ามานี้จะได้รับการการคัดเลือก และสัมภาษณ์ ชี้แจงให้ทราบลักษณะงานที่แรงงานต้องเข้ามาทำงานอยู่แล้ว ซึ่งการหลบหนีจะน้อย หากนายจ้างมีงาน มีโอทีให้ทำทุกวัน มีสวัสดิการที่ดีให้ตลอด ทั้งปี รับรองว่าแรงงานหลบหนี/สูญหายจะน้อยมาก

แรงงานที่ บนจ. ดิ อิมพอร์ตเตอร์ 168 นำเข้ามานั้น มีการรับประกันให้หรือไม่

มี เรามีการรับประกันให้กับนายจ้าง คือ คืนค่าบริการ หรือชดเชยแรงงานให้ใหม่ ตามจำนวนแรงงานที่หลบหนีหรือส่งกลับ โดยการเพิ่มเติมจากชุดใหม่ หากนายจ้างประสงค์ต้องการแรงงานเพิ่มเติมอีก โดยไม่มีค่าบริการ(สำหรับการทดแทน) ทั้งนี้ แรงงานที่นำเข้ามานี้จะได้รับการการคัดเลือก และสัมภาษณ์ ชี้แจงให้ทราบลักษณะงานที่แรงงานต้องเข้ามาทำงานอยู่แล้ว ซึ่งการหลบหนีจะน้อย หากนายจ้างมีงาน มีโอทีให้ทำทุกวัน มีสวัสดิการที่ดีให้ตลอด ทั้งปี รับรองว่าแรงงานหลบหนี/สูญหายจะน้อยมาก

แรงงานต่างด้าว MOU คืออะไร ?

แรงงานต่างด้าว MOU คือ แรงงานต่างด้าวที่ผ่านการนำเข้าตามระบบอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งหมด 4 สัญชาติ เมียนมา กัมพูชา ลาว เวียดนาม

ซึ่งขั้นตอนการนำเข้าแรงงานต่างๆ ผ่านความเห็นชอบของจากคณะรัฐมนตรีแต่ละประเทศ ให้ส่งออกและนำเข้ามาเพื่อทำงานยังประเทศไทย  โดยผ่านการรับรองจากหน่วยงานของแต่ละฝ่าย เช่น กรมการจัดหางาน สถานฑูตไทยประจำแต่ละประเทศ สถานเอกอัคราชทูตของแต่ละประเทศประจำประเทศไทย และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง  โดยการนำเข้าแรงงานของแต่ละประเทศมีข้อตกลงว่า แรงงานจะได้รับสวัสดิการและการดูแลแรงงานตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานของประเทศไทย ทุกประการ เช่น ได้รับค่าแรงขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด  จัดที่พัก,น้ำ-ไฟ(ค่าใช้จ่ายตามแต่ตกลงกัน), แรงงานทุกคนต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลตามหลักสิทธิประกันสังคม จึงถือได้ว่าแรงงานกลุ่มนี้ ค่อนข้างเสถียร์และ ง่ายต่อการควบคุม และการทำงานมากกว่าระบบอื่น

ข้อเปรียบเทียบระหว่าง แรงงานนำเข้า MOU และแรงงานกลุ่มมติ (บัตรชมพู)

เงือนไข นำเข้า MOU แรงงานกลุ่มมติ
การเปลี่ยนนายจ้าง เปลี่ยนได้ แต่ต้องเข้าเงื่อนไข 5+1 ** เปลี่ยนได้ทันที
การต่ออายุเอกสาร ได้คราวละ 2 ปีทุกครั้ง *หรือตามอายุหนังสือเดินทาง ได้คราวละ1 ปี หรือ ตามมติ ครมกำหนด
มีความ เสถียรภาพในการจ้างงาน มั่นคงกว่าเพราะยากต่อการย้ายนายจ้าง แรงงานสามารถปรับเปลี่ยนนายจ้างได้ตามใจชอบ
เอกสารแรงงาน มีครบหนังสือเดินทาง+ ใบอนุญาตทำงาน(E-work) อาจมีไม่ครบ เนื่องจากระบบ และ ขั้นตอนยังไม่สมบูรณ์
เปิดบัญชี สามารถดำเนินการเปิดได้ทันที เพราะเอกสารครบถ้วน ไม่สามารถเปิดได้ หากเอกสารไม่ครบถ้วน ตามที่ธนาคารร้องขอ
ประกันสังคม สามารถขึ้นประกันสังคมได้ เลข 13 หลักครบถ้วน ไม่สามารถขึ้นได้ หากไม่มี เลข 13 หลัก ในการขึ้นประกันสังคม
ประวัติแรงงาน มีการตรวจประวัติอาชญากรรมก่อนทำหนังสือเดินทาง ไม่มีการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม เนื่องจากแรงงานอยู่ไทยแล้ว
อุบัติเหตุ-เสียชีวิต มีการประสานงานกับทางเอเจนซี่ และข้อมูลการติดต่อกับทางญาติได้ ไม่ทราบแหล่งที่มาของแรงงาน
การดูแลของเอเจนซี่ต้นทาง การประสานงาน-การให้ข้อมูลแรงงาน และช่วยเหลือแรงงาน-นายจ้าง ตลอดสัญญาจ้างงาน ไม่มี
กรอบเวลาการทำงาน และเอกสารต่างด้าว มีระยะเวลาและขั้นตอนการดำเนินการที่ชัดเจน และวางแผนงานได้ ขั้นตอนการทำเอกสาร การสรรหา ไม่ชัดเจน ขึ้นอยู่กับนโยบายภาครัฐ หรือการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ
การชำระเงิน/ การประกัน/ ความเสียหาย/ ฉ้อโกง บริษัทนำเข้าฯ มีแหล่งที่มาชัดเจนตรวจสอบได้ จดทะเบียนถูกต้อง อาจถูกหลอกจากนายหน้า รับเงินแล้วทิ้งงานได้

ข้อควรทราบ !

สำหรับนายจ้าง กับการนำเข้าแรงงาน
ต่างด้าว 3 สัญชาติ(พม่า,ลาว,กัมพูชา) ในระบบการจ้างงาน แบบ MOU

 1. อัตราค่าจ้าง/ค่าแรง ของแรงงาน

อัตราค่าจ้างจะต้องไม่ต่่ากว่าค่าแรงขั้นต่ำ ตามที่กฏหมายคุ้มครองแรงงาน ประกาศกำหนดไว้

กรณี แรงงานทำางานนอกเหนือเวลางานปกติ นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้กับลูกจ้าง ในอัตรา 1.5 เท่า หรือ การทำงานในวันหยุด นายจ้างต้องจ่ายค่าแรง 2 เท่า ตามที่กฏหมายคุ้มครองแรงงาน ประกาศกำหนดไว้เช่นกัน

 2. ที่พัก

ตามบันทึกข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของแรงงานสัญชาตินั้นๆ นายจ้างควรจะต้องจัดหาที่พัก ให้แก่แรงงาน ส่วนค่าเช่า ค่าประกันให้อยู่ที่ข้อตกลงระหว่างสองฝ่าย โดยที่พักที่ถูกสุขลักษณะตามสมควร ส่วน ค่าน้ำ, ค่าไฟ นายจ้างสามารถให้ฟรี หรือให้แรงงานจ่ายเองทั้งหมด ก็ได้ หรือ จะกำหนดขั้นต่ำเพื่อให้แรงงานประหยัดและป้องกันการใช้อย่างฟุ่มเฟือย ไว้

 3. วันหยุด

นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ 1 วัน /สัปดาห์ ซึ่งอาจเป็นวันอาทิตย์หรือวันใดวันหนึ่งแล้วแต่นายจ้างกำหนด 

นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดตามประเพณีไทย 13 วัน / ปี โดยจ่ายค่าแรง

ลูกจ้างจะต้องได้รับสิทธิ การลาป่วย (โดยต้องแสดงหลักฐานการลา) โดยได้รับค่าแรงเช่นกัน

 4. ประกันสังคม

นายจ้างจะต้องจัดทำประกันสังคมให้กับลูกจ้าง ภายหลังได้รับใบอนุญาตทำงาน(work permit) ทันที เพื่อใช้สิทธิรักษาฟรี หรือรักษาพยาบาลแก่ลูกจ้างตลอดระยะเวลาของสัญญา ทั้งในกรณีประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานและกรณีเจ็บป่วยอื่น

 5. การบอกเลิกสัญญา  

กรณีนายจ้างประสงค์จะบอกเลิกสัญญา นายจ้างต้องบอกกล่าวให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า 1 เดือน หรือจ่ายเงินค่าจ้าง 1 เดือน แทนการบอกเลิกสัญญา หรือให้เป็นไปตามกฏหมายแรงงานไทย รวมทั้งนายจ้างต้องจ่ายค่าเดินทางกลับประเทศให้แก่ลูกจ้างด้วย หากนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกก่อน

 6. ข้อดีของแรงงาน MOU 

แรงงานตามระบบการจ้างงาน นี้ จะไม่สามารถเปลี่ยนย้ายนายจ้างได้ หากไม่เข้าเงื่อนไขการเปลี่ยนนายจ้าง สัญญาจ้างงานตลอดระยะเวลา 4 ปี ( วีซ่า2 ครั้ง คราวละ 2 ปี ) แรงงานสามารถทำงานอยู่กับนายจ้างได้ถึง 2 ปี สามารถต่อสัญญาทำใบอนุญาตการทำงาน ต่อได้อีก 2 ปี รวมเป็น 4 ปี นายจ้างสามารถต่อวีซ่า ขอใบอนุญาตท่างาน เพิ่มได้อีกหลังจากครบ 2 ปี แรก ซึ่งค่าใช้จ่าย แล้วแต่การตกลงใครจะรับผิดชอบค่าธรรมเนียม

ใบอนุญาตทำงาน และเอกสารของแรงงานเอง จะระบุชื่อกิจการของนายจ้างเท่านั้น ตามเอกสารการนำเข้า