การนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU มีขั้นตอนอย่างไร พร้อมข้อดี-ข้อเสีย ที่นายจ้างควรรู้
26 สิงหาคม 2024ในปัจจุบัน หลายธุรกิจในประเทศไทยต้องการจ้างแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง ซึ่งต้องการแรงงานจำนวนมาก โดยทางออกที่หลายบริษัทเลือกใช้ คือ แรงงานต่างด้าว MOU ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ การจัดหาแรงงานพม่า หรือที่เรียกอีกอย่างว่าแรงงานเมียนมา เพื่อเข้ามาทำงานในประเทศไทย ถือเป็นตัวเลือกที่หลายธุรกิจเลือกใช้ แล้วในการจัดหาแรงงานพม่าในไทยต้องเริ่มต้นอย่างไร ควรเตรียมอะไรบ้าง แล้วบริษัทจัดหาแรงงานพม่าสามารถช่วยเหลือธุรกิจได้มากน้อยแค่ไหน
ทำไมต้องจัดหาแรงงานพม่า?
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น แรงงานพม่านับเป็นชาติที่หลายธุรกิจนิยมจ้าง อันเนื่องด้วยเหตุผลหลายประการ ได้แก่
- ค่าจ้างที่เหมาะสม: แรงงานพม่า ยอมรับค่าจ้างขั้นต่ำ ตามที่กฎหมายแรงงานไทยกำหนดไว้ ช่วยให้ธุรกิจสามารถควบคุมต้นทุนได้ดีขึ้น ส่วนสัญชาติอื่นๆอาจจะ มีความต้องการค่าแรงที่มากกว่าด้วยเหตุ เรื่องของความ สามารถในการสื่อสารและ ความ สามารถในการทำงาน ที่มากกว่า
- ความขยันและอดทน: แรงงานพม่าเป็นที่รู้จักในด้านความขยัน อดทน และมีวินัยในการทำงาน
ปัญหาเรื่องของการลาออก (Turn Over) ค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับแรงงานสัญชาติลาวและกัมพูชา
ที่อาจมีความต้องการหรือการเรียกร้องในส่วนของค่าแรง และสวัสดิการอื่นๆที่มากกว่าแรงงานพม่า
- ความเสถียรในการจ้างงาน: ด้วยความขยัน ส่งผลให้แรงงานพม่ามีอัตราการลาออกต่ำกว่าแรงงานไทย รวมไปถึงแรงงานต่างด้าวสัญชาติอื่นด้วย จึงช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในระยะยาว นายจ้าง/โรงงาน/ฝ่ายผลิต เองก็สามารถวาง แผนงาน และควบคุม การผลิต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ทักษะเฉพาะทาง: แรงงานพม่าหลายคนมีทักษะที่เป็นที่ต้องการ ตอบสนองนโยบายการทำงาน ที่ทางนายจ้างหรือโรงงาน วางแผนไว้ อีกทั้งยังมีความ พยายาม สามารถเข้ากันกับงานทุกประเภทในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น งานก่อสร้าง งานประมง และงานในโรงงาน
ด้วยเหตุนี้คนงานพม่าหรือเมียนมาจึงมักได้รับความไว้วางใจจากนายจ้างในการทำงานด้านต่างๆ ในประเทศไทย
การนำเข้าแรงงานพม่า MOU คืออะไร?
การนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU (Memorandum of Understanding) เป็นวิธีการนำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงพม่า (เมียนมา) ลาว และกัมพูชา ซึ่งการนำเข้าแรงงานผ่านระบบ MOU ช่วยให้นายจ้างมั่นใจได้ว่าการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายและได้แรงงานที่มีคุณภาพ ได้แรงงานที่มีคุณสมบัติตามที่โรง งานหรือนายจ้างต้องการ เนื่องจากมีกระบวนการการคัดเลือกและการคัดสรรที่เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น ผิดจากแรงงานต่างด้าว ที่มีอยู่ในประเทศไทยเดิมจากการขึ้นทะเบียนหรือทำบัตรชมพู ที่เป็นการหางานอย่างเสรี บางโรงงานหรือนายจ้างก็ไม่สามารถเลือกได้ แรงงานที่เข้ามาสมัครอาจจะทำงานได้ในระยะสั้นๆ แล้วก็ ไปหางานใหม่ที่ มีค่าแรงสูงกว่าหรือสวัสดิการที่ดีกว่า ปัญหาเรื่องการลาออกและการเปลี่ยนแปลงจึงทำให้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
ข้อดีของการนำเข้าแรงงานพม่า MOU
- ถูกต้องตามกฎหมาย: แรงงานพม่าที่เข้ามาทำงานผ่านระบบ MOU จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานไทย ธุรกิจจึงไม่จำเป็นต้องหลบซ่อน ส่วนแรงงานก็สามารถทำงานได้อย่างเปิดเผย
- ระยะเวลาการจ้างงานที่ยาวนาน: แรงงาน MOU สามารถทำงานในไทยได้นานถึง 4 ปี (คราวละ2 ปี ต่อได้อีก 2 ปี) และเมื่อแรงงานต่างด้าวครบวาระ 4 ปี สามารถต่ออายุ ในรูปแบบนำเข้า แบบคนเก่า (รีเทิร์น) ได้อีกเรื่อยๆ (ไม่ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง แต่เป็นไปตามรูปแบบและขั้นตอนที่ทางกรมการจัดหางานไทยและพม่ากำหนด ) โดยทางนายจ้าง สามารถดำเนินการล่วงหน้าสองถึง 3 เดือนก่อนที่วีซ่ากำลังจะครบอายุ 4 ปี ทำให้ไม่สูญเสียกำลังแรงงาน ในการผลิต และทำงาน ดังที่ บริการของ ดิ อิมพอร์ตเตอร์ 168 ดำเนินการที่ผ่านมาให้หลายๆ นายจ้างมาแล้ว
- การคัดกรองคุณภาพ: แรงงานพม่า MOU จะผ่านการคัดกรองจากทั้งประเทศต้นทางและปลายทาง ทั้งในด้านสุขภาพและความสามารถ ช่วยให้ผู้ประกอบการได้แรงงานที่มีคุณภาพ
- สิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพและสวัสดิการ: แรงงาน MOU จะได้รับการคุ้มครองด้านสุขภาพและสวัสดิการตามกฎหมายแรงงานไทย โดยการนำส่งประกันสังคม อัตราการนำส่งเหมือนหนึ่งเป็นแรงงานไทยทุกประการ
- ค่าจ้างสวัสดิการ เป็นไปตาม กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ไม่มีการเรียกร้องเพิ่มเติม เนื่องจากแรงงานรับทราบข้อมูลและ ลักษณะในการทำงานรวมถึง สวัสดิการมาตั้งแต่ต้น ก่อนที่จะมีการเซ็นสัญญาจ้างงานแล้ว
เอกสารที่ต้องเตรียมในการจัดหาแรงงานพม่า
สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกก่อนจัดหาแรงงานเมียนมา คือ การเตรียมเอกสารต่างๆ ให้เพียบพร้อม เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น โดยเอกสารเบื้องต้นที่ควรเตรียม ได้แก่
- หนังสือรับรองบริษัท (กรณีนิติบุคคล)
- สำเนาบัตรประชาชน ของกรรมการบริษัท หรือนายจ้าง
- สำเนาทะเบียนบ้านนายจ้าง
- สำเนาทะเบียนการค้าหรือทะเบียนพาณิชย์ (ภพ. 20)
- ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) (ถ้ามี)
- แผนที่สถานที่ทำงาน
- รูปถ่ายสถานที่ทำงานและที่พักของแรงงานต่างด้าว
- หากเป็นกิจการก่อสร้างต้องมีสัญญาว่าจ้างการก่อสร้าง ( และเอกสารคู่สัญญา)
- รายละเอียดความต้องการแรงงาน และสวัสดิการต่างๆ
- แบบฟอร์มต่างๆที่ เป็นไปตามกระบวนการการนำเข้าแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา
ขั้นตอนการนำเข้าแรงงานพม่า MOU
1. นายจ้างยื่นคำร้อง (Demand Letter)
นายจ้างยื่นคำร้อง หรือ Demand Letter พร้อมแนบเอกสารต่างๆ ของทางบริษัทดังที่กล่าวไปข้างต้น เพื่อยื่นกับสำนักงานจัดหางานจังหวัด และกรมการจัดหางาน เพื่อติดต่อไปยังบัญชีแรงงานของประเทศต้นทาง และจัดทำบัญชีรายชื่อ (เนมลิสต์)
2. เตรียมเอกสารแรงงานต่างด้าว พร้อมชำระค่าธรรมเนียม
ภายหลังได้รับบัญชีรายชื่อจากบริษัทนำเข้าแรงงาน MOU จากประเทศต้นทางแล้ว จึงดำเนินการเตรียมเอกสารแรงงานต่างด้าวนั้น พร้อมชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน 1,900 บาท แทนคนต่างด้าวที่สำนักงานจัดหางานเขตพื้นที่ และกรมการจัดหางานเป็นลำดับถัดไป จนกว่าจะได้รับอนุมัติจากกรมการจัดหางานเพื่อที่จะดำเนินการการนำเข้าแรงงาน
4. จัดส่งเอกสารบัญชีรายชื่อ
จากนั้นจึงจะส่งเอกสารบัญชีรายชื่อที่ได้รับการอนุมัติจากกรมการจัดหางาน ให้กับบริษัทเอเจนซีของคนงานพม่า เพื่อยื่นขอวีซ่าที่สถานทูตไทย จึงจะสามารถเข้ามาในประเทศได้อย่างถูกกฎหมาย
5. แรงงานพม่าตรวจสุขภาพและอบรม
ภายหลังการได้รับวีซ่าเป็นที่เรียบร้อย เป็นกระบวนการการนำเข้าแรงงานเข้ามาในประเทศไทย จากนั้นให้นำแรงงานต่างด้าว MOU ไปตรวจสุขภาพตามที่กำหนด พร้อมเข้ารับการอบรมที่ศูนย์แรกรับและสิ้นสุดการจ้างงาน ของกรมการจัดหางาน เพื่อออกใบอนุญาตทำงาน เสร็จสิ้นทุกกระบวนการก็สามารถเริ่มทำงานได้เลย
ความท้าทายในการนำเข้าแรงงานพม่า
แม้ว่าการจัดหาแรงงานพม่าผ่านระบบ MOU จะมีข้อดีมากมาย แต่ก็มีความท้าทายที่นายจ้างควรคำนึงถึง เช่น
- ภาษาและการสื่อสาร: แม้แรงงานพม่าหลายคนจะสื่อสารในภาษาไทยได้ แต่อาจมีอุปสรรคด้านภาษาในการทำงาน
- ความแตกต่างทางวัฒนธรรม: แม้จะมีความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรม แต่ก็ยังมีความแตกต่างบางอย่างที่อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
- การปรับตัวกับเทคโนโลยี: แรงงานพม่าบางคนอาจต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และปรับตัวกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำงาน
- ขั้นตอนทางกฎหมายที่ซับซ้อน: กระบวนการนำเข้าแรงงานมีขั้นตอนที่ซับซ้อนและอาจใช้เวลานาน กว่า 3-4 เดือน
- การดูแลสวัสดิการ: นายจ้างต้องจัดเตรียมสวัสดิการต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งอาจเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับธุรกิจ
ส่วนของรายจ่าย หรือการชำระก็ให้อยู่ในรูปของการตกลงกันทั้งสองฝ่าย ก่อนการนำเข้าแรงงานเข้ามา
จะเห็นได้ว่าการนำเข้าแรงงานพม่ามาทำงานในไทยนั้นมีขั้นตอน เอกสาร และความท้าทายที่นายจ้างอาจพบเจอ ซึ่งนายจ้างควรเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เพื่อให้การจ้างงานแรงงานพม่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อธุรกิจ ทั้งนี้ การใช้บริการของบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศที่มีประสบการณ์ เช่น ดิ อิมพอร์ตเตอร์ 168 จำกัด สามารถช่วยลดความท้าทายเหล่านี้และทำให้กระบวนการนำเข้าแรงงานพม่าเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ดิ อิมพอร์ตเตอร์ 168 จำกัด
ดิ อิมพอร์ตเตอร์ 168 บริษัทนําเข้าแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทย ได้จดทะเบียนอนุญาตในการนำเข้าแรงงานต่างด้าวตามระบบ MOU (เมียนมา กัมพูชา และลาว) กับกรมจัดหางานและกระทรวงแรงงานตามพระราชกำหนดการทำงานคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 สามารถจัดหาแรงงานพม่า กัมพูชา และลาว พร้อมดำเนินการเอกสารทุกรูปแบบเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ บริษัทได้วางหลักประกัน กับกรมการจัดหางานเป็นจำนวนเงิน 5 ล้านบาท เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นายจ้างที่มาใช้บริการ
บริการของ ดิ อิมพอร์ตเตอร์ 168 คือ การนำเข้าแรงงานต่างด้าว โดยบริษัทจะเป็นผู้ดำเนินการเอกสารให้ทุกขั้นตอน ดูแลการจ้างแรงงานต่างด้าวให้ตลอดสัญญา รวมไปถึงการจัดการเอกสารของแรงงานต่างด้าว เช่น การไปรายงานตัวทุก 90 วัน ต่อใบอนุญาตทำงาน ต่อวีซ่าและเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าว ด้วยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์กว่า 15 ปี โดยเรามีนโยบายและจุดมุ่งหมายของการทำงานของทางบริษัทคือให้นายจ้างที่ประสงค์จะจ้างแรงงานต่างด้าว mou มีความสะดวกสบายที่สุดเสมือนหนึ่งกับการใช้แรงงานไทย
หากสนใจการนำเข้าแรงงาน MOU ติดต่อ บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ดิ อิมพอร์ตเตอร์ 168 จำกัด ผ่านช่องทางที่ระบุด้านล่าง
โทร.: 02-101-2814, 081-1717894
อีเมล: importer168@gmail.com
LINA OA: The Importer 168
Facebook: The Importer 168 นำเข้าต่างด้าว
เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้ธุรกิจของท่านเติบโตและมีส่วนสนับสนุนภาพแรงงานในส่วนของการผลิตให้กับธุรกิจของท่าน