โทษทางกฎหมายที่ควรรู้ ถ้าจ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย
27 พฤษภาคม 2024ความเข้าใจที่ถูกต้องในการจ้างแรงานต่างด้าว 4 สัญชาติ
ปัจจุบัน แรงงานต่างด้าวในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน สอง กลุ่ม ก็คือกลุ่มที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย
กลุ่มที่ 1. กลุ่มที่ถูกกฎหมาย ถูกแบ่งย่อยออกเป็น แรงงานกลุ่มมติ ครม. และกลุ่มที่ทำ MOU แรงงานต่างด้าว
1. แรงงาน นำเข้าตามระบบ MOU จะแบ่งออกเป็น 4 สัญชาติ คือเมียนมา กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ซึ่งทั้ง 4 สัญชาติทางนายจ้างที่มีความประสงค์จะจ้างแรงงานต่างด้าว สามารถทำเนินการนำเข้า แรงงาน ทั้ง 4 สัญชาติได้ตลอดทั้งปี ไม่มีกำหนด และไม่มีการปิด หากต้องการจ้างแรงงานทั้งที่เป็นคนเก่าและคนใหม่ ก็ สามารถดำเนินการตามระบบนี้ได้ โดยเป็นกระบวนการที่ถูกต้องและได้รับการรับรองจากกรมการจัดหางาน ฝั่งประเทศไทยและจากประเทศต้นทางทั้ง 4 ประเทศ ซึ่งแรงงาน จะต้องมีเอกสารในการนำเข้า ที่ครบถ้วน จึงจะ สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย นั่นก็คือ
1.1. หนังสือเดินทาง
1.2. วีซ่า1.ทำงาน หรือ วีซ่า NON-LA ที่จะประทับในหน้าหนังสือเดินทาง ของแต่ละสัญชาติ ** ทั้งนี้อายุของวีซ่าจะอ้างอิงจากอายุของหนังสือเดินทางเช่นเดียวกันหากหนังสือเดินทางอายุไม่ถึง สอง ปีทาง เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง จะตีให้ เท่ากับอายุของหนังสือเดินทางเล่มนั้นๆ ทางแรงงานหรือนายจ้างต้องแรงงาน ไปทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ก่อน จากนั้นแล้วย้ายตราจากนั้นจึงขอขยายวีซ่าได้ตามสิทธิ์ที่ สมควรจะได้รับก็คือ สอง ปีเต็ม
1.3. ใบอนุญาตทำงาน หรือที่รู้จัก คือ (E-work) ในส่วนของ สอง ปีแรก จะได้เป็นบัตร ตามตัวอย่างหากครบอายุ สอง ปีแล้วนายจ้างต่ออายุใหม่ทางจัดหางานเขตพื้นที่ก็จะออกให้เป็นเล่มสีน้ำเงินเหมือนที่สมัยก่อนใช้กัน แทน ตัวบัตรเก่าที่มีอายุเพียงแค่ สอง ปี
ภายหลังการนำเข้าแรงงานมาเรียบร้อยแล้ว ก็จะต้อง
- ตรวจโรค ทำประกันสุขภาพ จะของโรงพยาบาลรัฐบาลหรือจะเป็นเอกชน ขึ้นอยู่กับความสะดวกของทางนายจ้างได้เลย
- แจ้งเข้าในการทำงานกับทางจัดหางานเขตพื้นที่ที่นายจ้างตั้งอยู่ ตามมาตรา 13
- แจ้งที่พักภายใน 24 ชั่วโมง มาตรา 13 กับทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ซึ่ง สามารถทำออนไลน์ก็ได้หรือนายจ้างจัดเตรียมเอกสารของนายจ้างและแรงงานไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแต่ละท้องที่ก็ได้
เพียงเท่านี้แรงงานนำเข้าของทางนายจ้าง ก็จะถูกต้องตามกฎหมาย หลังจากนี้ 90 วันก็มีหน้าที่ในการ รายงานตัว ทุกๆ 90 วัน และหากครบอายุสัญญาการจ้างงาน สอง ปี นายจ้างก็ ดำเนินการต่ออายุเพิ่มได้อีก สอง ปีรวมเบ็ดเสร็จทั้งหมด 4 ปี
1.2 แรงงานกลุ่มมติ ครม ที่ได้รับ อนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว โดยมีกระบวนการ การดำเนินการเอกสาร ให้กับแรงงานที่ผิดกฎหมาย เดิม นั้นมีเอกสารในการทำงานและอยู่ในราชอาณาจักรไทยได้ถูกต้องตามกฎหมายจึงได้ออกเป็นมติครมออกมา เพื่อดำเนินการเอกสารให้กับแรงงานต่างด้าวกลุ่มที่ผิดกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันจะมีอยู่ หลายกลุ่มมาก แต่รวมๆ แล้วคือทุกกลุ่ม จะได้รับอนุญาให้หมดคราวเดียวกัน คือหมดพร้อมกัน ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 โดยเอกสารที่รายงานจะต้องมี ก็จะมีความคล้ายคลึงกับแรงงานนำเข้าแต่จะแตกต่างกันในเรื่องของบัตรชมพู คือต้องมีเอกสาร ดังนี้
1. เนมลิส ที่ผ่านการยื่น ตามมติ ครม.
2. พาสปอร์ต หรือ เล่ม C/I (เล่มสีเขียวตองอ่อน สัญชาติเมียนมา)
3. บัตรชมพู (เดิมที่รู้จักกัน จะเป็น ทร.38 )
4. หนังสือผ่านการตรวจพิสูจน์อัฒลักษณ์ (ตม.)
5. ใบอนุญาตทำงานที่ผ่านการอนุมัติจากกรมการจัดหางาน หากเสร็จสิ้นาจะได้รับใบอนุญตทำงาน เป็น E-work หรือ รูปเล่มน้ำเงิน เหมือนกัน
6. วีซ่า การทำงานที่มีการต่ออายุ จนถึง 13 กุมภาพันธ์ 2568
สรุปก็คือ การที่นายจ้างจะจ้างแรงงานต่างด้าว คนใดคน หนึ่ง นั้นจะต้องมีเอกสารให้ครบ มีแค่เพียงหนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ตไม่ได้ จำเป็นจะต้องมีวีซ่ามีใบอนุญาตทำงานและ ทุกอย่างนั้นจะต้อง ระบุชื่อของทางนายจ้างโดยจะต้องตรงกับใบอนุญาตทำงานหากไม่เช่นนั้นแล้วต่อให้แรงงานมีเอกสารที่ถูกต้องทุกอย่างตามที่ กำหนดแต่หากนายจ้างไม่ตรงก็เสมือน หนึ่ง เป็นแรงงานผิดกฎหมายนั่นเอง